activities
ข่าวสาร
รวมลิ้งก์แจ้งสิทธิลดหย่อนภาษี SSF RMF ปี 2565
ปี 2565 เป็นปีแรกที่กรมสรรพากรกำหนดเกณฑ์ใหม่ ให้นักลงทุนซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ต้องแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) โดยตรง ไม่สามารถยื่นกับกรมสรรพากรแบบเดิมได้แล้ว รายชื่อ บลจ. และช่องทางแจ้งขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี SSF / RMF ABERDEEN – บลจ. อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) จำกัด o https://responses.abrdn.com/tax-deduction-2022-th ASSETFUND – บลจ. แอสเซท พลัส จำกัด o https://www.assetfund.co.th/portal/tax-consent AWAM – บลจ. เอเชีย เวลท์ จำกัด o ไม่มีข้อมูล AIAIM – บลจ. เอไอเอ (ประเทศไทย) o ไม่มีข้อมูล BBLAM […]
อวสานของเหรียญคริปโต? โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
“กระแส” ของเหรียญคริปโตที่อ้างว่าจะกลายเป็นเงินดิจิทัลใน “โลกแห่งอนาคต” ซึ่งรวมถึง “เมตาเวอร์ส” ที่เป็น “โลกเสมือน” ที่คนอาจจะเข้าไปใช้ชีวิตอีกครึ่งหนึ่งนอกเหนือจากการใช้ชีวิตใน “โลกจริง” ที่เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว และพัดแรงขนาดที่ทำให้โลกการเงินและการลงทุนปั่นป่วนอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน คนจำนวนเป็นล้านล้านคนโดยเฉพาะที่เป็น “คนรุ่นใหม่” แทบทั้งโลกต่างก็เข้ามาลงทุนและเกี่ยวข้องในนวัตกรรมใหม่นี้ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่กำลัง “ปฏิวัติโลก” ในแทบทุกด้าน ซึ่งรวมถึงงานศิลปะที่เรียกว่าเหรียญ “NFT” เพื่อขายให้กับคนที่สนใจงานศิลป์ หรือการผลิต “ที่ดินเสมือน” ขึ้นมาเพื่อขายให้กับ “นักเล่นที่” ที่อาจจะอยากซื้อไว้เก็งกำไรหรือลงทุน “ทำธุรกิจ” ที่ต้องการ “หน้าร้านเสมือน” ไว้ขายของ กระแสของเหรียญคริปโตนั้นดูเหมือนว่าจะมาตามการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ที่ทำให้คนทั้งโลกต้องถูก “กักอยู่ในบ้าน” และต้องทำงานและใช้ชีวิตผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งก็ทำให้มีเวลาเหลือที่จะลงทุนเงินที่อาจจะได้รับจากรัฐบาลหรือเงินเก็บที่แทบจะไม่มีดอกเบี้ย และคนก็อาจจะเริ่มเห็นว่าเหรียญคริปโตนั้นปรับตัวขึ้นเร็วมากเนื่องจากมันมีจำนวนจำกัด และเมื่อราคาขึ้นไปก็ส่งผลให้คนใหม่เข้าไปลงทุนและดันราคาขึ้นไปอีก ถึงจุดหนึ่งเหรียญที่เป็นที่นิยมเช่นบิทคอยน์ก็ถูก “Corner” ราคาขึ้นจากประมาณ 9,000-10,000 ดอลลาร์ กลายเป็น 3-40,000 เหรียญ ในเวลาเพียง 2-3 เดือน และหลังจากนั้นที่ อีลอน มัสก์ เข้ามาร่วม “เล่น” ราคาก็ขึ้นไปถึง 60,000 […]
เวลาช้อนหุ้นยิ่งใหญ่ โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การปรับตัวขึ้นของหุ้นจีนอย่างโดดเด่นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานั้นน่าจะทำให้หลายคนเริ่มคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเริ่ม “ช้อนหุ้น” หลังภาวะวิกฤติที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้นปี เฉพาะอย่างยิ่งหุ้นเท็คของจีนที่ตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่องยาวนาน ดัชนีตลาดหุ้นเสิ่นเจิ้นตั้งแต่ต้นปีตกลงมาอย่างหนักตามตลาดหุ้นแนสดัก และตกลงมาต่ำสุดถึงประมาณ 30% ก่อนที่จะเริ่มปรับตัวขึ้น และเฉพาะในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาก็ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วถึงประมาณ 14% หุ้นเท็คยักษ์ใหญ่หลายตัวปรับตัวขึ้นแรงมาก หุ้น BABA หรืออาลีบาบาปรับตัวขึ้นถึง 42% ในเวลาเพียงเดือนเดียว และนี่ก็คือหุ้นที่ผมเคยเขียนถึงเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ว่าราคาหุ้นได้ตกลงมามากจนค่า PE เหลือเพียง 17 เท่า ในขณะที่หุ้นก็ยังแข็งแกร่งและยิ่งใหญ่ ดังนั้น มันอาจจะกลายเป็นหุ้น Value ไปแล้ว เช่นเดียวกับหุ้น TENCEN ที่ราคาวิ่งขึ้นไป 17% ในเวลาเพียงเดือนเดียวเช่นเดียวกัน คำถามที่น่าสนใจก็คือ แล้วหุ้นเท็คยักษ์ใหญ่ของโลกที่ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดอยู่ในตลาดหุ้นอเมริกา หรือหุ้น “ยิ่งใหญ่” อื่น ๆ ในตลาดหุ้นอื่นเล่า ถึงเวลาหรือยังที่เราจะเข้าไปช้อนซื้อหุ้นและหวังว่ามันจะเริ่มปรับตัวขึ้นไปโดดเด่นแบบที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นจีนในช่วง 1- 2 เดือนที่ผ่านมา ลองมาดูกันว่าหุ้นแต่ละตัวน่าสนใจที่จะช้อนซื้อมากน้อยแค่ไหน สิ่งที่ผมจะดูก็คงคล้าย ๆ กับกรณีของหุ้นจีนนั่นก็คือ ดูว่าหุ้นได้ตกลงมาจากจุดสูงสุดมากน้อยแค่ไหน ธุรกิจแข็งแกร่งและ/หรือยังเติบโตมากน้อยแค่ไหน ราคาหุ้นวัดจากค่า PE เป็นอย่างไร ถ้าหุ้นตกมาแรงมาก ธุรกิจยังแข็งแกร่งและไม่ถดถอยลงในระยะยาว และค่า PE ต่ำ หรือไม่เกิน 20-30 เท่า ผมคิดว่าการช้อนซื้อลงทุนระยะยาวก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีและมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ใช้ได้ อย่างน้อยน่าจะได้ซัก 10% แบบทบต้นในระยะยาวอย่างน้อย 5 ปี […]
10 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ “เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ”
เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ คือวิธีในการดึงเงินออกจากบริษัท ยอดนิยมอีกวิธีนึง ที่เจ้าของธุรกิจ/บัญชี หลายคนชอบใช้ เพราะมันดึงง่าย สะดวก และทำเมื่อไหร่ก็ได้ แถมที่สำคัญ “รับเงินมา ภาษีไม่ต้องเสีย สัญญาเงินกู้ก็ไม่ต้องทำ” แล้วจะไปตั้งเงินเดือนโบนัส หรือปันผล ให้เสียภาษีเล่น เพื่อ…? ———————แต่คุณรู้หรือไม่ว่า?——————— 1.นี่คือหนึ่งในรายการทางบัญชีที่สรรพากรจ้องตาเป็นมันมากที่สุด ———————————–จ้องแล้วไง ไม่เห็นเสียภาษีอะไร?———————————– 2.เขาไม่ได้จ้องว่าคุณปล่อยกู้เมื่อไหร่ แต่เขาจ้อง “ว่าคุณจะเคลียร์หนี้ก้อนนี้ตอนไหน? และยังไง?” 3.เพราะนี่ คือหนี้ … และหนี้ ต้องได้รับการชำระคืน ————————เงินตัวเองจะคืนทำไม?———————— 4.นี่ไม่ใช่เงินตัวเองครับ มันคือเงินบริษัทที่คุณกู้ยืมมา นั่มหมายความว่าวันนึงคุณต้องคืน 5.โดยวันที่คุณต้องคืนเงินก้อนนี้แน่ๆ คือวันที่คุณขายธุรกิจ 6.วันที่คุณต้องการจดเลิกกิจการ 7.วันที่คุณหมายมั่นปั้นมือว่าจะเอาบริษัทเข้า IPO ในตลาดหุ้น แต่ FA ไม่ทำให้ เพราะมีหนี้กรรมการที่ยังไม่ได้สะสาง 8.วันที่คุณต้องการส่งบริษัทต่อให้ลูกมาบริหาร และลูกต้องมารับภารกิจในการเคลียหนี้กรรมการแทน ————————วิธีจัดการมีอยู่ 2 อย่าง———————— 9. ตัดหนี้สูญ ยอมเสียภาษีบวกกลับเข้าไป 10. หาเงินมาคืนบริษัท แล้วค่อยหาวิธีดึงออกทีหลัง ไม่มีทางลัด […]
จากชายไร้บ้าน สู่เศรษฐีนักสร้างแรงบันดาลใจ
“เมื่อคุณมีความฝัน คุณต้องปกป้องมัน …” #คริส การ์ดเนอร์ ช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ อยากจะพักเรื่องการเงิน มาพูดเรื่องหนัง ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนครับ “The Pursuit of Happyness” The Pursuit of Happyness (2006) เป็นภาพยนต์ของ Columbia Pictures นำแสดงโดยวิล สมิธ (Will Smith) สร้างจากเรื่องจริงของการไล่ล่าหาความสุขของคุณพ่อลูกติด คริส การ์ดเนอร์ (Chris Gardner) ที่ต้องดิ้นรนใช้ชีวิตในเมืองใหญ่อย่างซานฟรานซิสโก เจอมรสุมชีวิตต่าง ๆ นา ๆ จนสุดท้ายก็ได้มาฝึกงานในบริษัทนายหน้าค้าหุ้นแห่งหนึ่ง และด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ เขาก็สามารถตั้งตัวได้ จนสามารถตั้งบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์เป็นของตัวเอง ก่อนจะผันตัวเองมาเป็นนักพูดสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่กำลังลำบากครับ “สารพัดมรสุมชีวิต…” นี่ระหว่างดูหนังไปผมก็เครียดไปตามตัวละครนะ และก็คิดในใจว่า “นี่ถ้าเราเจอเหตุการณ์แบบเขา เราจะผ่านไปได้ไหม?” เพราะสารพัดมรสุมชีวิต ต่างก็พากัน Combo พุ่งใส่ตัวคริส การ์ดเนอร์อย่างไม่หยุดหย่อน เริ่มตั้งแต่การตระเวนขายเครื่องมือทางการแพทย์ที่ก็ไม่ได้ขายดีซะเท่าไหร่ แถมเมียก็มาทิ้ง ทำให้ต้องกระเตงลูกไปมา สลับกับการเอาไปฝากสถานรับเลี้ยงเด็ก หนักสุด… คือไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ต้องพาลูกไปนอนในสวนสาธารณะบ้าง ห้องน้ำสาธารณะบ้าง ไม่ก็ไปขออาหารจากสวัสดิการรัฐฯ ที่ให้กับคนไร้บ้าน […]
ความผิดพลาดของ Warren Buffett
“เรื่องพวกนี้คือความผิดพลาดของผม … และพนันได้เลยว่าผมจะต้องทำพลาดอีกเยอะ! ในอนาคตข้างหน้า” #Warren Buffett กล่าวกับผู้ถือหุ้น Berkshire ผ่านจดหมายในปี 2007 เพราะชายคนนี้ไม่ใช่ผู้วิเศษ… มนุษย์เราเป็นเผ่าพันธ์ุที่พัฒนาตัวเองมาตลอดหลายหมื่นปีผ่านการเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว “หนึ่งในนั้นคือการเรียนรู้จากความผิดพลาด” ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้กระทั่งชายที่ถือว่าเป็นปรมาจารย์ด้านการลงทุนอย่าง Warren Buffett และนี่เป็นตัวอย่างความผิดพลาดของชายคนนี้ ที่ผมคิดว่าควรค่าแก่การเรียนรู้เป็นอย่างยิ่งครับ เสียเงิน 200 ล้านเหรียญ ไปกับ Dexter Shoes… ย้อนไปปี 1993 ปู่บัฟฯ ตัดสินใจซื้อหุ้นของบริษัท Dexter Shoes โดยใช้วิธีการ “แลกหุ้น” กัน ซึ่งก็คือการให้ Daxter ถือหุ้นของ Berkshire ในมูลค่าพอ ๆ กันกับที่ปู่บัฟฯ ต้องการเข้าไปถือหุ้นในบริษัท Daxter โดยตอนนั้นมูลค่าหุ้นที่แลกกันเบ็ดเสร็จอยู่ที่ 433 ล้านเหรียญ โดยเขาให้เหตุผลของการตกลงในครั้งนี้ว่า “เขาคิดว่าบริษัทนี้มีศักยภาพในการแข่งขัน และมีความได้เปรียบคู่แข่ง” แต่หลังจากนั้นไม่นาน (ปี 2001) ความได้เปรียบที่ว่าก็หายไป เพราะด้วยการที่รูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ Dexter ได้รับความนิยมน้อยลง […]
กฎ 25 ข้อของ ปีเตอร์ ลินช์
ผมเพิ่งได้มีโอกาสกลับมาอ่านหนังสือที่มีชื่อว่า “Beating the Street” ซึ่งในนั้นมีบทสรุปการลงทุนของผู้จัดการกองทุนระดับตำนานอย่างปีเตอร์ ลินช์ (Peter Lynch) ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการบริหารกองทุนให้กับ Fidelity Magellan ซึ่งประวัติการลงทุน สไตล์การเลือกหุ้น ผมจะขอยกมาเล่าให้ฟังอีกครั้งในโอกาสหน้า แต่วันนี้…จะมีบางช่วงบางตอนของหนังสือ ที่เกี่ยวกับกฎ 25 ข้อ ของการลงทุนในหุ้นครับ 1. การลงทุนเป็นเรื่องที่สนุก ตื่นเต้น (โดยเฉพาะเวลากำไร) แต่ก็เป็นเรื่องที่อันตรายมากหากลงทุนแล้วคุณไม่ทำอะไรเลย ไม่ได้ตามข่าวสาร ไม่ได้ศึกษาตัวบริษัท ไม่ได้มานั่งเปรียบเทียบกองทุน ทำเพียงแค่ “ซื้อ … เพราะราคามันขึ้น” แบบนี้การลงทุนนั้นก็พร้อมจะ “ปล้น” เงินของคุณไปทันที 2. แค่คุณลงทุนในบริษัทที่คุณรู้จักและเข้าใจเป็นอย่างดี คุณก็สามารถชนะบรรดากูรู และตลาดหุ้นได้อย่างง่ายดาย 3. คุณสามารถเอาชนะตลาดหุ้นได้ง่าย ๆ เพียงแค่อยู่ห่าง ๆ จากฝูงชน เพราะการอยู่ท่ามกลางความเห็นของคนหลาย ๆ คน คุณอาจสูญเสียความเป็นตัวตน และทำอะไรที่มันดูไร้เหตุผลไปในที่สุด 4. เบื้องหลังหุ้นทุกตัวคือบริษัท และทุกบริษัททำธุรกิจ … คุณแค่ต้องไปดูว่าเขาทำมาหากินยังไง ได้เงินมาจากไหน อะไรคือความเสี่ยง และอะไรที่จะทำให้บริษัทนั้นเติบโต 5. ราคาหุ้น จะขึ้นตามกำไรของบริษัท แม้จะมีหลายครั้งที่กำไรเติบโตสวนทางกับราคา แต่เชื่อเถอะ…ถ้ากำไรมันโตจริง […]
อะไรคือ…”CFP”
ในการเลือกซื้อสินค้าอาหารการกินทั้งหลาย ความเชื่อมั่นในคุณภาพย่อมมาเป็นอันดับต้นๆ แล้วอะไรละที่จะช่วยคัดกรองให้กับเราในเรื่องนี้ให้พออุ่นใจได้บ้าง? จึงเกิดเครื่องหมายนึง ที่เราต่างรู้จักกันดีก็คือ “อย.” (ของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา”) เข้ามาช่วยรับรองให้กับผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ได้มั่นใจในจุด ๆ นี้กันมากขึ้น จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้ว รสชาติหรือรูปร่างสีสันนั้นแทบเป็นพระรองเลย เมื่อเทียบกับสิ่งที่เรียกว่าคุณภาพ… สุขภาพการเงินเราเองก็เช่นเดียวกันเวลาที่เราจะมองหาใครสักคนให้ช่วยวางแผนให้กับเงินของเราที่เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้สุขภาพกาย เพราะในด้านความเชื่อมั่นต่อการวางแผนการเงิน จะไม่เหมือนการที่เราเลือกซื้อขนมแค่ฉีกซองชิมรสชาติจะรู้เลยว่าอร่อยถูกใจหรือไม่? แล้วจะทานต่อหรือจะทิ้งก็ตัดสินใจได้เลยง่าย ๆ แต่แผนการเงินของเรานั้นมันต้องใช้วินัยและระยะเวลาเป็นตัวพิสูจน์ที่นานพอถึงจะรู้ว่ามาถูกทางหรือไม่?โอกาสบรรลุเป้าหมายทางการเงินของเราจะยังเป็นไปได้อยู่รึป่าว?แล้วจะตัดสินใจเลิกล้มทิ้งไปเริ่มต้นใหม่ตอนนั้นก็คงจะไม่ง่ายแล้วละ! งั้นเราเองในฐานะผู้บริโภคก็อยากรู้ว่า จะมีอะไรบ้างไหมที่พอช่วยรับรองคุณภาพให้เราก่อนต้องลงมือปฏิบัติจริงตามแผนได้ จึงอยากพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งคุณวุฒิที่ถือว่าเป็นที่สุดของการยอมรับสำหรับนักวางแผนการเงินทั้งในระดับประเทศและระดับโลกกัน นั่นก็คือ “CFP” (Certified Financial Planner) ซึ่งมีสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย (TFPA) เป็นผู้ดูแล ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้ที่จะได้รับคุณวุฒินี้ได้นั้น จะต้องผ่านทั้งการเรียน 6 ชุดวิชา (Module) และต้องผ่านการสอบให้ผ่านอีก 4 ฉบับ (Paper) . [นี่สอบคุณวุฒิ หรือเรียน ป.โท กันเนี่ยย ???] แต่ละชุดวิชาและรอบสอบแต่ละครั้งปีๆนึงเปิดเพียงไม่กี่รอบ จึงใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าจะได้มา เรียกได้ว่านอกจากมีความรู้แล้ว ยังต้องอึดทนทาน […]
ผลไม้ที่เก็บกินในวันนี้ ย่อมไม่ได้ถูกปลูกขึ้นในเมื่อวาน
นี่คือประโยคที่ผมชอบมาก เพราะมันคือสิ่งที่บรรยายความเหมือนระหว่างการปลูกต้นไม้ และการวางแผนการเงินได้ดีที่สุดประโยคนึง การที่เราอยากมีต้นมะม่วงสักต้นอยู่ในสวนหลังบ้านเป็นของตัวเอง พร้อมให้สามารถเดินไปเด็ดลูกมาลิ้มรสแสนหอมหวานได้นั้น “เราคงไม่สามารถเพียงแค่นึกคิดแล้วจะมีต้นมะม่วงค่อยๆ โตขึ้นมาและผลิดอกออกผลได้ในทันตา” มันต้องเริ่มจากตั้งแต่การเตรียมดิน อดทนดูแล รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ให้เวลากับต้นมะม่วงต้นนี้รอดูวันที่มันค่อยๆเติบโต เลยลองมองย้อนกลับมาตอนเริ่มต้นวางแผนการเงินก็เช่นกัน …ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกษียณ หรือ เพื่อเป้าหมายอะไรในอนาคตสักเรื่อง แค่คิดก็สัมผัสได้แล้วว่าต้องใช้ทั้งกำลังกาย ทั้งกำลังใจ พร้อมทั้งเสริมด้วยความอดทนและมุ่งมั่นหมั่นอดออมอย่างมีวินัยสูง.. ให้ตัดสินใจเริ่มก็อึดอัดไปถึงกระเป๋าสตางค์แล้ว “แต่ถ้าเรารู้ว่ามันสำคัญกับชีวิตเราแค่ไหน? และมันคุ้มค่าที่จะแลกกับสิ่งที่รออยู่ข้างหน้า! ก็ไม่มีอะไรมาขัดให้ไม่ทำมันแล้ว” หากเราเลือกที่จะผลัดวันประกันพรุ่งที่จะลงมือปลูกให้ช้าไป 1 วัน หรือ 1 เดือน หรือจะ 1 ปี มันก็เหมือนการเลื่อนวันที่เราจะได้กินให้ห่างไกลออกไปอีกเรื่อยๆ แต่เมื่อไหร่ที่เราลงมือปลูกแล้ว สักวันนึงมะม่วงสุกนั้นก็พร้อมให้ไม่เพียงแค่ตัวเราเองได้กิน ยังมีคนในครอบครัวเราเองอีก ที่จะได้ลิ้มรสชาตินี้จากการตั้งใจลงมือทำและความอดทนเพียงการตัดสินใจเดียว และเป้าหมายทั้งหมดทั้งมวนนี้จะไม่มีวันเกิดขึ้นเลย ถ้าหากเราไม่เริ่มลุกออกจากเก้าอี้แล้วเดินออกไปที่สวนหลังบ้านพร้อมลงมือทำ ต้นกล้าที่จะเติบโตเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ สิ่งสำคัญนอกเหนือก่อนเวลาและการดูแล ก็คือ การลงมือปลูก… “แล้วตอนนี้ต้นกล้าทางการเงินในชีวิตคุณละ ได้เริ่มเติบโตสูงใหญ่แค่ไหนแล้วครับ?” . #ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ โทร 02-109-9519
(ว่าที่?)..สงครามโลกครั้งที่3 กับ การเงินของเรา !
เปิดศักราชมาได้ไม่นาน ประเด็นระดับโลกก็พรั่งพรูกันเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย เรื่องใหญ่สุดคงหนี้ไม่พ้น (ว่าที่?) สงครามโลกครั้งที่ 3 ระหว่างสหรัฐ และ อิหร่าน ทั้ง ๆ ที่ปีผ่านมาเรื่อง “สงครามการค้า(Trade War)” ระหว่างสหรัฐฯกับจีน ก็ยังไม่จางไป โดยถ้ามองย้อนเข้ามาใกล้ตัวในบ้านเรา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สร้างแรงลบให้ภาคธุรกิจ ทั้งด้านค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น และด้านราคาน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวกดกำไรให้กับหลายๆธุรกิจในบ้านเราเป็นอย่างมาก แล้วปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ จะส่งผลกระทบอะไรกับเราบ้าง? พวกเราเองในฐานะผู้มีรายได้เปราะบาง แต่กลับมีรายจ่ายที่มั่นคง จะจัดการกับช่วงสภาวะแบบนี้ให้อยู่รอดผ่านพ้นกันไปได้อย่างไรดี มาลองดูวิธีง่ายๆเหล่านี้ดูให้พอเป็นไอเดียไปปรับใช้กันครับ 1. เช็คตัวเองว่ามี “เงินหมุน” พอไหม?เงินหมุน ก็คือเงินที่กันไว้เพื่อหมุนใช้จ่ายต่างๆ ไปจนถึงการใช้จ่ายกรณีฉุกเฉิน ควรมีกันไว้บางส่วนก่อน สำหรับเป็นกันชนให้กับตัวเราเองในด่านแรก เมื่อเกิดเหตุจำเป็นต้องใช้เงินแบบไม่คาดฝัน หากใครนึกไม่ออกต้องสักเท่าไหร่ ก็ให้อย่างน้อยๆ 3-6 เท่า ของค่าใช้จ่ายเราต่อเดือน แต่ถ้าใครกังวลมากหน่อยก็จะปรับเพิ่มมากกว่านี้สักเล็กน้อยก็ได้ครับ 2. พับแผนที่ต้องใช้จ่ายอะไรก้อนใหญ่ ๆ เก็บไว้ก่อนเลยใครมีแผนจะซื้อของ หรือเปิดวงเงินกู้อะไร ชะลอความต้องการในการซื้อสินค้าบางอย่างที่อยากได้เลื่อนออกไป เพื่อจะได้ไม่เป็นการเพิ่มภาระด้านรายจ่ายซ้ำเติมให้กับเรามากขึ้นเข้าไปอีก พยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงให้มากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นรายจ่ายส่วนตัวของเราเองนั่นแหละ […]